เมนู

[วิธีอุปสมบทมี 8 อย่าง]


หลายบทว่า ตีหิ สรณคมเนหิ อุปสมฺปนฺโน มีความว่า ผู้
อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งลั่นวาจากล่าว 3 ครั้ง โดยนัยเป็นต้นว่า พุทฺธํ
สรณํ คจฺฉามิ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อุปสัมปทา นี้มี 8 อย่าง คือ เอหิภิกขุ
อุปสัมปทา 1 สรณคมนอุปสัมปทา 1 โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา 1 ปัญหา-
พยากรณอุปสัมปทา 1 ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา 1 ทูเตนอุปสัมปทา 1
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา 1 ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา 1.

[อรรถาธิบายอุปสัมปทา 8 อย่าง]


ในอุปสัมปทา 8 อย่างนั้น เอหิภิกขุอุปสัมปทา และสรณคมนอุป-
สัมปทา ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วแล.
ที่ชื่อว่า โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่พระมหากัสสปเถระ ด้วยการรับโอาวาทนี้ว่า เพราะเหตุนั้นแล กัสสป !
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และความเกรงไว้ในภิกษุ
ทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า, เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้แหละ กัสสป! เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกุศล, เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น
ทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ, เธอพึงศึกษา
อย่างนี้แล กัสสป! เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ก็สติ
ที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยความรำคาญ จักไม่ละเราเสีย, เธอ
พึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป* !
* สํ. นิทาน. 16/260. บาลีเดิมเป็น กายคตาสติ น วิชหิสฺสติ ไม่มี มํ ศัพท์.

ที่ชื่อว่า ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่โสปากสามเณร. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามปัญหาเนื่องด้วย
อสุภ 10 กะโสปากสามเณร ผู้จงกรมตามเสด็จอยู่ในบุพพารามว่า โสปากะ !
ธรรมเหล่านี้คือ อุทธุมาตกสัญญาก็ดี รูปสัญญาก็ดี มีอรรถต่าง ๆ กัน มี
พยัญชนะต่าง ๆ กัน หรือมีอรรถอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ?
โสปากสามเณรนั้น ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้นได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทาน
สาธุการแก่เธอ แล้วตรัสถามว่า เธอได้กี่พรรษาละ โสปากะ ? สามเณร
ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! หม่อมฉันได้ 7 พรรษา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระหฤทัยอันโสปากสามเณรให้ยินดีว่า โสปากะ
เธอแก้ปัญหาทัดเทียมกับสัพพัญญุตญาณของเรา แล้วจึงทรงอนุญาตให้
อุปสมบท. นี้ชื่อว่า ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา.
ที่ชื่อว่า ครุธัมปฏิคคหณอุปสัมปทา1 ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาต
แก่พระนางมหาปชาบดี ด้วยการรับครุธรรม 8.
ที่ชื่อว่า ทูเตน อุปสัมปทา2 ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่นาง
อัฒกาสีคณิกา.
ที่ชื่อว่า อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา3 ได้แก่อุปสัมปทาของนางภิกษุณี
ด้วยกรรม 2 พวกนี้ คือ ญัตติจตุตถกรรม ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ญัตติจตุตถกรรม
ฝ่ายภิกษุสงฆ์.
ที่ชื่อว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา4 ได้แก่อุปสัมปทาของภิกษุ
ทั้งหลายในทุกวันนี้.
1. วิ. จุลฺล. 7/323-9. 2. วิ. จุลฺล. 7/365-7.
3. วิ. จุลฺล 7/354-359 4. วิ. มหา. 4/191.

มีคำว่ากล่าวอธิบายว่า ผู้ที่อุปสมบทแล้วในบรรดาอุปสัมปทา 8 อย่าง
เหล่านี้ ด้วยอุปสัมปทานี้ ที่ทรงอนุญาตแล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตซึ่งบรรพชา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้.*
บทว่า เจริญ ได้แก่ไม่ทราม. จริงอยู่ เสขบุคคลทั้งหลายมีกัลยาณ-
ปุถุชนเป็นต้น จนถึงเป็นพระอรหันต์ ย่อมถึงความนับว่า ภิกษุผู้เจริญ
เพราะประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
อันเจริญ.
บทว่า สาโร มีความว่า เสขกัลยาณปุถุชนนั้น พึงทราบว่า ภิกษุ
ผู้มีสาระ เพราะประกอบด้วยสาระทั้งหลาย มีศีลสาระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง
เปรียบเหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
พระขีณาสพเท่านั้น พึงทราบว่า เป็นผู้มีสาระ เพราะเป็นผู้ปราศจากกระพี้คือ
กิเลส.
บทว่า เสกฺโข มีความว่า พระอริยบุคคล 7 จำพวก กับทั้งกัลยาณ-
ปุถุชน ย่อมศึกษาสิกขาบท 3 เพราะเหตุนั้น จึงจัดเป็นเสกขบุคคล. ใน
เสกบุคคลเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งพึงทราบว่า เป็นภิกขุเสกขะ. ที่ชื่อว่า
อเสกขบุคคล เพราะไม่ต้องศึกษา. พระขีณาสพ ท่านเรียกว่า อเสกขบุคคล
เพราะล่วงเสกขธรรมเสีย ตั้งอยู่ในผลเลิศ ไม่มีสิกขาที่จะต้องศึกษาให้ยิ่งกว่านั้น.
สองบทว่า สมคฺเคน สงฺเฆน มีความว่า ด้วยสงฆ์ ชื่อว่า เข้าถึง
ความเป็นผู้พร้อมเพรียงกันในกรรมอันหนึ่ง เพราะภิกษุผู้เข้ากรรม ในกรรม
ที่จะพึงด้วยสงฆ์ปัญจวรรค โดยปริยายอย่างต่ำที่สุด ได้มาครบจำนวน
เพราะได้นำฉันทะของพวกภิกษุผู้ควรฉันทะมาแล้ว และเพราะพวกภิกษุผู้อยู่
พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน.
* วิ. มหา. 4/42.

บทว่า ญตฺติจตุตฺเถน มีความว่า อันจะพึงทำด้วยอนุสาวนา 3 ครั้ง
ญัตติ 1 ครั้ง.
บทว่า กมฺเมน คือ วินัยกรรมอันชอบธรรม.
บทว่า อกุปฺเปน ความว่า เข้าถึงความเป็นกรรมอันใคร ๆ พึงให้
กำเริบไม่ได้ คืออันใคร ๆ พึงคัดค้านไม่ได้ เพราะถึงพร้อมด้วยวัตถุสมบัติ
ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ และปริสสมบัติ.
บทว่า ฐานารเหน คือควรแก่เหตุ ได้แก่ควรแก่สัตถุศาสนา.
ชื่อว่า อุปสัมบัน คือมาถึง อธิบายว่า บรรลุภาวะอันสูงสุด. อัน
ความเป็นภิกษุเป็นภาวะอันสูง. จริงอยู่ บุคคลนั้น ท่านเรียกว่า อุปสัมบัน
เพราะมาถึงความเป็นภิกษุนั้น ด้วยกรรมตามที่กล่าวแล้ว.
ก็ในอธิการนี้ มาแต่ญัตติจตุตถกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. แต่ในที่นี้
ควรนำสังฆกรรมทั้ง 4 มากล่าวไว้โดยพิสดาร. คำนั้นทั้งหมดท่านกล่าวแล้วใน
อรรถกถาทั้งหลาย. และสังฆกรรมเหล่านั้นคือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม บัณฑิตพึงเรียงไว้ตามลำดับ แล้วซักบาลี
มากล่าวโดยพิสดาร จากคัมภีร์ขันธกะและกัมมวิภังค์ในที่สุดแห่งคัมภีร์บริวาร.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาสังฆกรรมเหล่านั้นในกัมมวิภังค์ ในที่สุดแห่งคัมภีร์บริวาร
นั่นแล. เพราะว่า เมื่อมีการพรรณนาอย่างนั้น ปฐมปาราชิกวรรณนา จักไม่
เป็นการหนักไป. และการพรรณนาพระบาลีตามที่ตั้งไว้ ก็จักเป็นวรรณนาที่รู้
กันได้ง่าย ทั้งฐานะเหล่านั้น จักเป็นของไม่สูญเสีย. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จะทำการพรรณนาไปตามบทเท่านั้น.
บทว่า ตตฺร มีความว่า บรรดาภิกษุทั้งหลาย ซึ่งกล่าวโดยนัยมีคำว่า
ผู้ขอ เป็นต้นเหล่านั้น.

สองบทว่า ยฺวายํ ภิกฺขุ ตัดบทเป็น โย อยํ ภิกฺขุ แปลว่า
ภิกษุนี้ใด.
ข้อว่า สมคฺเคน สงฺเฆน ฯเป ฯ อุปสมฺปนฺโน มีความว่า
บรรดาอุปสัมปทา 8 ผู้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรมเท่านั้น.
ข้อว่า อยํ อิมสฺมึ อตฺเถ อธิปฺเปโต ภิกฺขุ มีความว่า ภิกษุนี้
ประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในอรรถว่า เสพเมถุนธรรมแล้ว ย่อมเป็นผู้พ่ายแพ้ นี้.
ส่วนภิกขุศัพท์นอกนี้มีว่า ภิกฺขโก เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจการ
ขยายความ. และในคำว่า ภิกฺขโก เป็นต้นนั้น ศัพท์มีอาทิว่า ผู้ขอ ตรัส
ด้วยอำนาจภาษา. สองบทนี้ว่า เป็นภิกษุโดยสมัญญา เป็น ภิกษุ โดยความ
ปฏิญญา ตรัสด้วยอำนาจการร้องเรียก.
บทว่า เอหิภิกฺขุ ตรัสด้วยอำนาจวิธีอุปสมบทที่กุลบุตรได้แล้ว โดยมี
พระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌายะ. สรณคมนภิกฺขุ ตรัสด้วยอำนาจผู้อุปสมบทแล้ว
ในเมื่อกรรมวาจา ยังไม่เกิดขึ้น. ศัพท์เป็นต้นว่า ผู้เจริญ พึงทราบว่า ตรัส
ด้วยอำนาจคุณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงจำแนกบทนี้ว่า ภิกฺขุนํ ไว้ในบัดนี้เลย
เพราะไม่มีใจความที่แปลก เมื่อจะทรงแสดงสิกขาและสาชีพ เพราะเป็นเหตุ
ให้ภิกษุถึงพร้อมแล้ว จึงเป็นผู้ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุ
ทั้งหลาย จึงตรัสว่า สิกฺขา เป็นต้น. ในคำว่า สิกฺขา เป็นต้นนั้น มี
วินิจฉัยดังนี้:-
ที่ชื่อว่า สิกฺขา เพราะอรรถว่า อันกุลบุตรพึงศึกษา.
บทว่า ติสฺโส เป็นสังขยากำหนดการคำนวณ.

บทว่า อธิสีลสิกฺขา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ศีลยิ่ง คือสูงสุด เหตุนั้น
จึงชื่อว่า อธิศีล. อธิศีลนั้นด้วย เป็นสิกขา เพราะอันกุลบุตรพึงศึกษาด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ในอธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาก็นัยนั้น.

[อรรถาธิบายอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา]


ถามว่า ก็ในอธิการนี้ ศีลเป็นไฉน? จิตเป็นไฉน?
อธิจิต เป็นไฉน? ปัญญาเป็นไฉน ? อธิปัญญา เป็นไฉน ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- ศีล มีองค์ 5 และองค์ 10 ชื่อว่า
ศีลเท่านั้นก่อน. จริงอยู่ ศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นแล้วก็ตาม ยัง
มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม เป็นไปอยู่ในโลก. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทานใน
ศีลนั้น. เมื่อพระพุทธเจ้า ยังมิได้อุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้า สมณพรหมณ์
พวกกรรมวาทีประพฤติชอบธรรม พระเจ้าจักรพรรดิมหาราช และพระมหา-
โพธิสัตว์ ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน (ในศีลนั้น). พวกสมณพราหมณ์
ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทาน (ศีลนั้น) แม้ด้วยตนเอง. สมณพราหมณ์เป็นต้น
เหล่านั้น ครั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเสวยสมบัติในหมู่
ทวยเทพและในหมู่มนุษย์.
ส่วนปาฏิโมกขสังวรศีล ท่านเรียกว่า อธิศีล. จริงอยู่ปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้น เป็นศีลที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาโลกิยศีลทั้งหมดดุจพระอาทิตย์ยิ่งกว่า
แสงสว่างทั้งหลาย ดุจภูเขาสิเนรุสูงกว่าบรรพตทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปได้
เฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น นอกพุทธุปบาทกาลหาเป็นไปไม่. ด้วยว่า
สัตว์อื่นไม่สามารถยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น
ทรงตัดกระแสทางแห่งความประพฤติเสียหายทางกายทวารและวจีทวารได้เด็ด-